วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง


บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ประวัติของโครงการ
            เมื่อวันที่ 21  มกราคม  2545 เวลา 12.20 น.  สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน บริเวณ ดอยดำลุ่มน้ำแม่หาด เพื่อการวิจัยพื้นที่โครงการ “ บ้านเล็กในป่าใหญ่” ขึ้นโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ แม่ทับที่ภาค 3 ข้าราชการสังกัดกรมป่าไม้ และสังกัดอื่นๆเฝ้ารับเสด็จ พลตรีนคร ศรีเพ็ชรพันธ์ ผู้บัญชาการกองกำลังผาเมือง กราบบังคมทูลรายงานสถาณการชายแดนไทย-พม่า
            นายปฏิสันถาร โรจนกุล หัวหน้าหน่วยจัดการต้นน้ำแม่หาดกราบบังคมทูลรายงานเกี่ยวกับ สภาพพื้นที่ และการจัดการต้นน้ำของหน่วยงาน นายเกียรติศักดิ์  สุขวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานกิจกรรมพิเศษกรมชลปทาน กราบทูลถวายรายงานเกี่ยวกับการจัดหาน้ำสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีกระแสพระราชดำรัสเกี่ยวกับโครงการ “บ้านเล็กในป่าใหญ่” ที่จะจัดตั้งขึ้นความว่า พระองค์เป็นห่วงสถานการชายแดนไทย - พม่า บริเวณดอยดำที่ยังไม่มีคนเข้าไปอยู่อาศัย ทำให้มีความสะดวกต่อการเข้าออกของคนต่างด้าว และเป็นเส้นทางลำเลียงยาเสพติด รวมทั้งสิ่งที่ผิดกฎหมายต่างๆซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคงและความสงบสุขของประชาชน จึงมีพระราชดำริที่จะจัดตั้งหมู่บ้านในที่ชื่อ “โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่” ขึ้น โดยให้ชาวบ้านในโครงการ มีหน้าที่ดูแลป่าและบริเวณนี้และไกล้เคียง พร้อมทั้งเป็นเส้นตะเข็บชายแดนด้วย 

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2545 อธิบดีกรมป่าไม้ได้เรียกประชุมเจ้าหน้าที่ๆเกี่ยวข้อง เพื่อการเร่งรัดการดำเนินการโครงการ “ บ้านเล็กในป่าใหญ่ดอยดำ ตามพระราชดำริ ” โดยฝ่ายสำนักกรมป่าไม้เขตเชียงใหม่ (สำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในปัจจุบัน) ผู้อำนวยการโครงการขออนุญาตใช้พื้นที่ต่อสำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่ ได้มีหนังสือจากสำนักงานเขตเชียงใหม่ ด่วนที่สุด ที่ กษ.0723.7/ 1893 ลงวันที่ 17 มิถุนายน 2545 ให้ใช้พื้นที่ลุ่มน้ำแม่หาดทั้งหมด 16,850 ไร่ เป็นพื้นที่ดำเนินการโครงการฯ พร้อมทั้งยังขออนุญาตแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานและต่อมากรมป่าไม้ออกคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 1961/2545 ลงวันที่ 23 กันยายน 2545 เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานโครงการให้คนอยู่กับป่าอย่างยั่งยืนในลักษณะ “ โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ ตามพระราชดำริ”


              ราวปีพุทธศักราช 2507 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงใช้เวลาในช่วงฤดูหนาว เสด็จแปรพระราชฐานไป จังหวัดเชียงใหม่ ทอดพระเนตรชีวิตของชาวบ้านบนดอยชาวไทยภูเขาในภาคเหนือประกอบอาชีพปลูกข้าวเพื่อบริโภคควบคู่กับการปลูกฝิ่น ซึ่งสร้างปัญหาการทำลายป่าไม้จากการทำไร่เลื่อนลอย และที่สำคัญคือปัญหายาเสพติดที่แพร่หลายจากชุมชนชนบทไปสู่เมืองและกลายเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศในยุคนั้น   จากพระราชดำริที่ว่า “ถ้าจะให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่นก็ต้องหาพืชอื่นที่ขายได้ราคาดีกว่า และมีความเหมาะสมจะปลูกในที่สูง มาให้ชาวเขาปลูกทดแทน” จึงเป็นที่มาในการริเริ่ม “โครงการหลวงพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา” ในปี 2512 โดยทรงมอบหมายให้ หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นประธานอำนวยการโครงการหลวงฯ การดำเนินการในระยะแรกของโครงการหลวงฯ นั้นได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งให้ความช่วยเหลือในเรื่องการศึกษาวิจัยหาพืชที่เหมาะสมต่อสภาพอากาศในพื้นที่ นอกจากนั้น ยังมีหน่วยงานราชการอื่นๆ อีกหลายแห่ง    ที่เต็มใจเข้ามาร่วมถวายงานอย่างไม่ย่อท้อ รวมถึงความร่วมมือจากต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ที่ให้เงินสนับสนุนโครงการหลวงฯ ตั้งแต่ปี 2516 จนถึงปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น: