วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทที่1 บทนำ


                                                                   บทที่ 1   บทนำ
                                                   

ความเป็นมาและความสำคัญ

ราวปีพุทธศักราช 2507 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงใช้เวลาใช่วงฤดูหนาว เสด็จแปรพระราชฐานไป จังหวัดเชียงใหม่ ทอดพระเนตรชีวิตของชาวบ้านบนดอยชาวไทยภูเขาในภาคเหนือประกอบอาชีพปลูกข้าวเพื่อบริโภคควบคู่กับการปลูกฝิ่น ซึ่งสร้างปัญหาการทำลายป่าไม้จากการทำไร่เลื่อนลอย และที่สำคัญคือปัญหายาเสพติดที่แพร่หลายจากชุมชนชนบทไปสู่เมืองและกลายเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศในยุคนั้น จากพระราชดำริที่ว่า “ถ้าจะให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่นก็ต้องหาพืชอื่นที่ขายได้ราคาดีกว่า และมีความเหมาะสมจะปลูกในที่สูง มาให้ชาวเขาปลูกทดแทน” จึงเป็นที่มาในการริเริ่ม “โครงการหลวงพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา” ในปี 2512 โดยทรงมอบหมายให้ หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นประธานอำนวยการโครงการหลวงฯ การดำเนินการในระยะแรกของโครงการหลวงฯ นั้นได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งให้ความช่วยเหลือในเรื่องการศึกษาวิจัยหาพืชที่เหมาะสมต่อสภาพอากาศในพื้นที่ นอกจากนั้น ยังมีหน่วยงานราชการอื่นๆ อีกหลายแห่ง ที่เต็มใจเข้ามาร่วมถวายงานอย่างไม่ย่อท้อ รวมถึงความร่วมมือจากต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ที่ให้เงินสนับสนุนโครงการหลวงฯ ตั้งแต่ปี 2516 จนถึงปัจจุบัน
ทางคณะผู้จัดทำจึงมีความเห็นว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่น่าศึกษาจึงลงมติว่าจะนำโครงการหลวงดอยคำนี้มาวิจัย

วัตถุประสงค์
                1. เพื่อทราบประวัติความเป็นมาของโครงการหลวงดอยคํา
                2. เพื่อศึกษาทัศนคติของประชาชนในตำบล ท่าพี่เลี้ยงเกี่ยวกับโครงการหลวงดอยคำ


สมมติฐาน
                1. โครงการหลวงดอยคำเกิดจากพระราชดำริของในหลวงเพื่อความเป็นอยู่และการดำรงชีวิต   ที่ดีขึ้นของชาวเขา
                2. ประชาชนส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีต่อโครงการหลวงดอยคำ

ตัวแปรต้น    การศึกษาข้อมูลโครงการหลงดอยคำ
ตัวแปรตาม  1. ผลจากการศึกษาโครงการหลงดอยคำ
          2. ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อโครงการหลวงดอยคำ

ขอบเขตของการวิจัย
ในการศึกษาเรื่องการโครงการหลวงดอยคำในจังหวัดสุพรรณบุรี
1. ประชากร ประชาชนในตำบลท่าพี่เลี้ยงในจังหวัดสุพรรณบุรี
2. กลุ่มตัวอย่าง แบบสอบถามจากประชาชนในตำบลท่าพี่เลี้ยงจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 50 คน
3. ระยะเวลาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555   ตั้งแต่วันที่  25 ตุลาคม 2555 ถึง วันที่  31  ธันวาคม  2555




                                                               นิยามศัพท์เฉพาะ

 1. ชาวเขา หมายถึง ชนกลุ่มน้อยซึ่งตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ในอาณาบริเวณพื้นที่ที่เป็นเทือกเขา สูงไม่เกินหนึ่งหมื่นฟุตจากระดับน้ำทะเล มีขนบธรรมเนียม ประเพณี ภาษาพูด ความเชื่อ อาชีพและอุปนิสัยใจคอคล้ายคลึงกัน มีการปกครองร่วมกัน แต่แตกต่างออกไปอย่างเห็นได้ชัดจากประชากรเจ้าของประเทศในด้านชาติพันธ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีและภาษาพูด และมีความเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจ

2. ฝิ่น เป็นพืชไม้ล้มลุก มีการลักลอบปลูกบนพื้นที่สูง เหนือกว่าระดับน้ำทะเล 800 ฟุต และมี อากาศหนาวเย็น ฝิ่นมีลำต้นสูงประมาณ 2 – 4 ฟุต ดอกฝิ่นจะมีสีขาว สีแดง สีม่วง และสีม่วง แดงยางแห้งที่ได้จากการกรีดผลของต้นฝิ่น. ตำราสรรพคุณยาไทยว่า ฝิ่นมีรสเบื่อเมา มี สรรพคุณแก้บิดเรื้อรัง แก้ลงแดง แก้ปวด น้ำมูกไหล ปวดหัว เหงื่อออกมาก เบื่ออาหาร

3. ระบบไอน้ำ หมายถึง  หลักการทำงานคือไอน้ำผลิตจากหม้อไปน้ำแล้วถูกส่ง  ไปยังอุปกรณ์ที่ใช้ไอน้ำผ่านท่อส่งจ่ายไอน้ำ ไอน้ำจะสูญเสียความร้อนไปสู่อากาศรอบๆ ท่อทำให้ไอน้ำบางส่วนเปลี่ยนสถานะกลายเป็นน้ำร้อน

4. การทำไร่เลื่อนลอย หมายถึง การย้ายที่ปลูกพืชไปเรื่อย ๆ หลังจากที่ดินขาดความอุดมสมบูรณ์หรือมีวัชพืชเกิดขึ้นมาก การหักร้างถางพงจึงเป็นการทำลายป่าไปในที่สุด

5.ดอยคำ  หมายถึง ชาวเขา การเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมก็ได้เปลี่ยนมาสู่เกษตรแผนใหม่ซึ่งมีมูลค่ามหาศาล พื้นที่เหล่านี้จึงได้ถูกเรียกว่า

6.แยมผลไม้ หมายถึง เป็นอาหารหวานประเภทหนึ่งใช้ทานกับขนมปัง มีลักษณะคล้ายเยลลี่แต่ไม่จับตัวเป็นก้อน โดยมีวิธีการผลิตคือนำผลไม้ที่จะทำเป็นแยมมาต้มกับน้ำและน้ำตาล ในอุณหภูมิร้อน



ประโยชน์ของการวิจัย
            1. ได้รู้ประวัติความเป็นมาของโครงการหลวงดอยคำ
            2. ได้รู้ทัศนคติของประชาชนตำบลท่าพี่เลี้ยงในจังหวัดสุพรรณบุรีต่อโครงการหลวงดอยคำ

ไม่มีความคิดเห็น: